โครงงานวิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมที่มุ่งให้นักเรียนในระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา รู้จักการนำวิธีการทางวิทยาศาสตร์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาสร้างผลงานทางวิทยาศาสตร์
ทำให้นักเรียนได้พัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์  จิตวิทยาศาสตร์ ซึ่งนอกจากจะเป็นผลดีต่อผู้เรียนโดยตรงแล้ว  ยังเป็นประโยชน์ต่อประเทศที่ต้องการบุคลากรทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์จำนวนเพิ่มมากขึ้นเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันบนเวทีโลกและการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่สูงขึ้น  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี  จึงได้กำหนดให้มีการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ประจำปี 2566 เพื่อให้โอกาสนักเรียนได้แสดงความสามารถในด้านวิทยาศาสตร์ อีกทั้งยังส่งเสริมการศึกษาทางวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้น

  1. เพื่อให้นักเรียนได้ประยุกต์ใช้ความรู้ วิธีการทางวิทยาศาสตร์และทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ สร้างผลงานทางวิทยาศาสตร์
  2. เพื่อพัฒนาจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียน
  3. เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกใช้วิธีการวิจัยทางวิทยาศาสตร์เบื้องต้น
  1. โรงเรียน สามารถส่งโครงงานทางวิทยาศาสตร์เข้าประกวดได้ทุกระดับๆ ละ 1 โครงงาน
  2. ทีมผู้จัดทำโครงงานทางวิทยาศาสตร์ ทีมละไม่เกิน 3 คน
  3. โครงงานทางวิทยาศาสตร์ที่ส่งเข้าประกวด ต้องไม่เคย ได้รับรางวัลการประกวดในที่ใดๆมาก่อน
  4. ลงทะเบียนสมัครเข้าร่วมประกวดโครงการวิทยาศาสตร์ ภายในวัน ศุกร์ ที่ 28 กรกฎาคม 2566 ทางลิงค์ pbru.ac.th/sciweek
  5. เอกสารโครงงาน ทุกโครงงานที่ส่งเข้าประกวด จะต้องส่งต้นฉบับที่สมบูรณ์ (ไม่รับชุดแก้ไขในวันงาน) จำนวน 5 ชุด มายังคณะวิทยาศาสตร์ฯ เพื่อให้คณะกรรมการได้พิจารณาล่วงหน้า ภายในวันศุกร์ ที่ 4 สิงหาคม 2566 (วันที่ประทับตราไปรษณียากร) หากส่งช้ากว่ากำหนด  คณะวิทยาศาสตร์ฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการไม่รับผลงาน

(ปกนอก)         เรื่อง…………………………………………………………………………………….

โดย  1.  …………………………………………………………………………..….

  1.  …………………………………………………………….………..………
  2.  …………………………………………………………….…………..……

โรงเรียน  …………………………………………………………………………………………….

รายงานฉบับนี้เป็นส่วนประกอบของโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับ…………………………………………………..

ในการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์  จัดโดย  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

(ปกใน)  เรื่อง…………………………………………………………………………………….

โดย  1.  ……………………………………………………………………….

  1.    …………………………………………………………….…………
  2.    …………………………………………………………….…………

อาจารย์ที่ปรึกษา  ………………………………………………………………………………….

ที่ปรึกษาพิเศษ  1.   ………………………………………………………………………………..

(ถ้ามี)  2.   ………………………………………………………………………………..

 

บทคัดย่อ

กิตติกรรมประกาศ

สารบัญ

สารบัญตาราง

สารบัญภาพ

บทที่ 1. บทนำ

บทที่ 2.  เอกสารที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 3. อุปกรณ์และวิธีการ

บทที่ 4.  ผลและการอภิปราย

บทที่ 5.  สรุปและข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

ภาคผนวก

หมายเหตุ  ขนาดของกระดาษเขียนรายงานให้ใช้พิมพ์ ขนาด เอ 4 และทำรายงานส่ง จำนวน 5 ชุด โครงงานใดที่ได้รับรางวัล  คณะวิทยาศาสตร์ฯ  ขออนุญาตเก็บไว้ 1 ชุด

 

 

แผ่น ก ขนาด 60  เซนติเมตร  x  60  เซนติเมตร

แผ่น ข ขนาด 60  เซนติเมตร  x  120  เซนติเมตร

ติดบานพับมีห่วงรับและขอสับทำมุมป้านกับแผ่นกลาง

หมายเหตุ   1. แผงสำหรับแสดงกิจกรรมของโครงงานวิทยาศาสตร์ตามตัวอย่างหรือรูปแบบอื่น ตามความเหมาะสม  ให้ทางโรงเรียนที่ส่งเข้าประกวดจัดมาเองคณะวิทยาศาสตร์ฯ  จะจัดโต๊ะสำหรับตั้งแสดงเท่านั้น

  1. แสดงหัวข้อครอบคลุมและสอดคล้องกับรายงานที่ส่งมา

 

  1. ระดับประถมศึกษา ประกวดผลงานในวันที่ 17 สิงหาคม 2566  ลงทะเบียนรายงานตัว และตั้งแสดงผลงานตั้งแต่เวลา 8.30 น. ณ หน้าห้องการประกวดแข่งขัน  และเริ่มนำเสนอ ผลงานตั้งแต่เวลา 00 เป็นต้นไป
  2. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ประกวดผลงานในวันที่ 17 สิงหาคม 2566  ลงทะเบียนรายงานตัว และตั้งแสดงผลงานตั้งแต่เวลา 8.30 น. ณ หน้าห้องการประกวดแข่งขัน  และเริ่มนำเสนอ ผลงานตั้งแต่เวลา 9.00 เป็นต้นไป
  3. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ประกวดผลงานในวันที่ 17 สิงหาคม 2565  ลงทะเบียนรายงานตัว และตั้งแสดงผลงานตั้งแต่เวลา 8.30 น. ณ หน้าห้องการประกวดแข่งขัน  และเริ่มนำเสนอ ผลงานตั้งแต่เวลา 00 เป็นต้นไป

 

  1. แต่ละทีมนำเสนอผลงานไม่เกิน 10  นาทีและตอบข้อซักถามของคณะกรรมการอีก  5 นาที รวมเวลา  15  นาที  ต่อโครงงาน  ตามลำดับการลงทะเบียนแต่ละระดับ
  2. ขอความอนุเคราะห์ทุกโครงงานจัดแสดงงานให้ผู้เข้ารวมงานตลอดทั้งวันของการประกวด ตั้งแต่เวลา
    00  น. – 16.00  น.

 

  1. การเขียนรายงาน (คะแนน 30%)
  1. การจัดแสดงโครงงานวิทยาศาสตร์  (คะแนน 30%)
  1. การนำเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์ (คะแนน 40%)

 เกณฑ์การตัดสิน

ร้อยละ 80-100 ได้รับรางวัลระดับเหรียญทอง       (เกียรติบัตร)
ร้อยละ 70-79   ได้รับรางวัลระดับเหรียญเงิน       (เกียรติบัตร)
ร้อยละ 60-69   ได้รับรางวัลระดับเหรียญทองแดง (เกียรติบัตร)
ร้อยละ 50-59   ได้รับรับรางวัลระดับชมเชย         (เกียรติบัตร)
ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด

การประกาศผลการประกวด  และการรับรางวัล

  1. ประกาศผลการประกวดและรับรางวัล ในวันที่แข่งขันหลังคณะกรรมการตัดสินเสร็จรายงานตัวและรับรางวัลในเวลาเดียวกัน  (ถ้าไม่สามารถรับรางวัลในวันเวลาที่กำหนด  สามารถติดต่อขอรับรางวัลได้ที่สำนักงานวิทยาศาสตร์ฯ  อาคาร 4)
  2. การตัดสินของคณะกรรมการถือว่าเป็นที่สิ้นสุด
  3. หากมีข้อสงสัย ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ฝ่ายวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ฯ โทร 0 3270 8618 หรือ

หมายเหตุ  ทุกโรงเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมจะได้รับเกียรติบัตรการเข้าร่วมกิจกรรมผ่านทางระบบดิจิทัล

 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจและทักษะการทำโครงงานวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้น
  2. ประเทศมีบุคลากรทางวิทยาศาสตร์และนักวิจัยเพิ่มขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีศักยภาพในการแข่งขันสูงขึ้น