เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2562 นักศึกษาสาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ร่วมกับอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จัดทำโป่งเทียม ณ บริเวณแคมป์บ้านกร่าง อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน
ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทางตรงให้กับสัตว์ป่าที่กินพืชเป็นอาหาร เช่น เก้ง กวาง ช้าง โดยสัตว์เหล่านี้จะกินดินจากโป่งดิน เพื่อให้ร่างกายได้รับแร่ธาตุหรือสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายได้ครบถ้วน รวมถึงเป็นประโยชน์ทางอ้อมกับสัตว์ที่กินสัตว์เป็นอาหาร (Carnivores) หรือผู้ล่า เช่น สิงโต เสือและหมาใน จะได้ประโยชน์จากโป่งในทางอ้อม โดยการใช้เป็นพื้นที่ในการซุ่มโจมตีเหยื่อ หรือล่าสัตว์กินพืชที่ลงมากินดินโป่ง ซึ่งการล่าเหยื่อจากบริเวณนี้ เป็นคำตอบที่ว่าเหตุใดผู้ล่าจึงไม่จำเป็นต้องกินดินโป่งก็สามารถได้รับแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายได้ ซึ่งประโยชน์จากการกินต่อกันเป็นทอด ๆ นี้ทำให้เกิดการถ่ายทอดพลังงานในสิ่งมีชีวิต (energy flow) เกิดขึ้นในระบบนิเวศซึ่งส่งผลให้ระบบนิเวศเกิดความสมดุลต่อไป
“โป่ง” บริเวณดินเค็ม มี 2 แบบคือ โป่งธรรมชาติ โป่งเทียม โป่งแต่ละแห่งมีแร่ธาตุต่างกัน แร่ธาตุจำเป็นต่อชีวิตสัตว์ป่า โป่งเที่ยม เสริมอาหารสัตว์กินพืชในป่า ส่วนประกอบ แร่ธาตุอาหารสัตว์ ไดแคลเซียมฟอสเฟต เกลือแกง ฝนตก ความชื้นจากน้ำค้าง เกลือละลายดินบริเวณนั้นเค็ม สัตว์ป่ามากินดินนี้ ประโยชน์ทางตรง สัตว์ป่ากินพืช กินดินโป่ง ดื่มน้ำโป่งน้ำ ได้รับแร่ธาตุที่จำเป็น ประโยชน์ทางอ้อมสัตว์กิน สัตว์ได้ประโยชน์จากโป่ง ใช้เป็นที่ล่าสัตว์กินพืชที่มากินดินโป่ง การล่าเหยื่อบริเวณนี้ผู้ล่าไม่ต้องกินดินโป่งก็ได้แร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย เกิดการถ่ายทอดสารและพลังงานในระบบนิเวศ ส่งผลให้ระบบนิเวศสมดุล