วัตถุประสงค์การประเมิน
1. เพื่อสะท้อนผลการดำเนินงานตลอดปีการศึกษาของหน่วยงาน
2. เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการบริหารและการจัดการศึกษาของหน่วยงาน
3. เพื่อยกระดับมาตรฐานการศึกษาของมหาวิทยาลัยให้เป็นที่ยอมรับ
คณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษา
- รศ.ดร.โองการ วณิชาชีวะ ประธานกรรมการ (Online)
- ผศ.ดร.กังสดาล สกุลพงษ์มาลี กรรมการ
- อ.ดร.จีรศักดิ์ สุขสันติกมล กรรมการ (Online)
- อ.ดร.จตุพร อินทะนิน เลขานุการ
- น.ส.ชนม์นิภา ตันหยง ผู้ช่วยเลขานุการ
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน
รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจาปีการศึกษา 2564
วันที่ 11 สิงหาคม 2565
———————————————————————————————
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลั ยราชภัฏเพช รบุรี เป็นส ถาบันอุดมศึกษา กลุ่ม ข. (เน้นการผลิตและพัฒนาสังคม) ได้ดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามคู่มือประกันคุณภาพการศึกษาภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี พ.ศ. 2561 -2565 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 โดยจัดทำเป็นแผนประกันคุณภาพการศึกษาภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีและปฏิบัติตามแผนการติดตามตรวจและประเมินผลมาอย่างต่อเนื่องทุกปี
ในปีการศึกษา 2564 มหาวิทยาลัยได้แต่งตั้งคณะกรรมการประเมินคุณภาพประกอบด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.โองการ วณิชาชีวะ เป็นประธานคณะกรรมการ ผศ.ดร.กังสดาล สกุลพงษ์มาลี เป็นรองประธานกรรมการ อาจารย์ ดร.ธีรศักดิ์ สุขสันติกมล เป็นกรรมการ อาจารย์ ดร.จุติพร อินทะนิน เป็นกรรมการและเลขานุการ นางสาว ชนม์นิภา ตันหยง เป็นผู้ช่วยเลขานุการ ประเมินคุณภาพมหาวิทยาลัย ณ วันที่ 11 สิงหาคม 2565 คณะกรรมการประเมินฯ ได้ประเมินคุณภาพคณะแบบมีส่วนร่วม โดยตรวจประเมินคุณภาพตามกำาหนดการจากการตรวจผลการดำเนินงานและเอกสารหลักฐานผ่านระบบออนไลน์ การสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย ตรวจเยี่ยมศูนย์การเรียนรู้ จากความร่วมมือกับประชารัฐ สรุปผลและเปิดโอกาสให้เสนอหลักฐาน เพิ่มเติม พร้อมรายงานคะแนนต่อผู้บริหารคณะด้วยวาจา ผลกำรประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีะบบและกลไกการประกันคุณภาพ ตาม มาตรฐานคุณภาพตามเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีที่พัฒนาขึ้น มีผลการประเมินคุณภาพตนเองของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจ าปีการศึกษา 2564 มีคะแนนเฉลี่ย 4.69 อยู่ในระดับดีมาก คณะกรรมการมีผลการประเมินคุณภาพภายในประจ าปีการศึกษา 25 64 มีคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมตามมาตรฐานของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เท่ากับ 4.69 อยู่ในระดับดีมาก สรุปดังนี้
1. คะแนนเฉลี่ย 5 มาตรฐานคุณภาพ พบว่า
มาตรฐานที่ 1 ผลลัพธ์ผู้เรียนมีคะแนนเฉลี่ย 4.69 อยู่ในระดับดีมาก
มาตรฐานที่ 2 การวิจัย หรืองานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรม มีคะแนนเฉลี่ย 4.57 อยู่ในระดับดีมาก
มาตรฐานที่ 3 การบริการวิชาการมีคะแนนเฉลี่ย 5.00 อยู่ในระดับดีมาก
มาตรฐานที่ 4 ศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยมีคะแนนเฉลี่ย 4.50 อยู่ในระดับด
มาตรฐานที่ 5 การบริหารจัดการมีคะแนนเฉลี่ย 4.69 อยู่ในระดับดีมาก
2.ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนำและบริหารจัดการต่อไป
องค์ประกอบที่ 1 จุดแข็ง
คณะมีระบบกำกับติดตามและการประเมินผลการพัฒนานักศึกษาและบัณฑิตที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้การดำเนินการด้านการผลิตบัณฑิตมีความโดดเด่น
ข้อเสนอแนะ
คณะควรวิเคราะห์ สังเคราะห์ การเพิ่มทักษะการเป็นผู้ประกอบการให้กับนักศึกษา และบัณฑิตเพื่อเพิ่มความเข้มแข็งในการพัฒนาด้านวิชาชีพต่อไป
องค์ประกอบที่ 2 จุดแข็ง
คณะมีระบบกลไกในการส่งเสริม กำกับและติดตามการวิจัยที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ทุนสนับสนุนการวิจัยรวมถึงผลงานทางวิชาการ นวัตกรรมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ข้อเสนอแนะ
คณะควรเร่งกระบวนการในการส่งเสริมและคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อให้เกิดแรงจูงใจในการสร้างผลงานและนวัตกรรมที่
สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
องค์ประกอบที่ 3 จุดแข็ง
คณะมีการกำหนดเป้าหมายชุมชนในการให้บริการวิชาการอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดผลิตภัณฑ์และองค์ความรู้รวมถึงรายได้จากการบริการวิชาการอย่างเป็นรูปธรรม
ข้อเสนอแนะ
คณะควรแสดงผลการดำเนินงาน โดยเฉพาะการบูรณาการการบริการวิชาการเข้ากับการเรียนการ สอนให้ครบถ้วน เพื่อเพิ่มผลลัพธ์การเรียนรู้และศักยภาพของผู้เรียน
องค์ประกอบที่ 4 จุดแข็ง
คณะมีจำนวนแหล่งการเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมที่หลากหลายส่งผลให้เกิดการพัฒนาด้านศิลปวัฒนธรรมที่โดดเด่น
ข้อเสนอแนะ
คณะควรมีการวิเคราะห์ เพื่อสร้างองค์ความรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่ ในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันหรือการพัฒนาต่อยอดในเชิงพาณิชย์ และสามารถน าไปสู่การได้รับรางวัลเชิดชูได้
องค์ประกอบที่ 5 จุดแข็ง
คณะมีรูปแบบการบริหารจัดการรวมถึงระบบการกำกับการประกันคุณภาพที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ การดำเนินงานในมิติต่าง ๆ บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ได้อย่างดี
ข้อเสนอแนะ
คณะควรเร่งกำกับติดตามแผนการพัฒนาบุคลากรตามที่วางไว้ เช่น การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ ของอาจารย์ประจำคณะ