เนื่องด้วยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ได้มอบหมายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินการตามโครงการพัฒนาทักษะ ปั้นอาชีพ เสริมรายได้ชุมชน กระตุ้นเศรฐกิจหลักสูตรที่ ๑ พัฒนาทักษะอาชีพพื้นฐานด้านการผลิต ประกอบด้วย การทำน้ำยาล้างจาน,สบู่เหลว,กระเป๋าผ้า,การทำเหรียญโปรยทาน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมนำความรู้ที่ได้รับไปสร้างอาชีพใหม่ หรือประกอบอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มพูนรายได้ให้ชุมชนดีพร้อม หรือใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อลดรายจ่าย การอบรมในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมการอบรม จำนวน ๒๐๐ คน โดยจัดการอบรมขึ้นในวันเสาร์ที่ 10 กันยายน ๒๕๖๕ ณ บริเวณด้านหน้าโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี โดยการอบรมครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งครั้งนี้มีผู้ช่วยศาสตราจารย์ณรงค์ ไกรเนตร์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานเปิดการอบรม และมีนายนพดล เมืองนก นักวิชาการศึกษา กล่าวรายงานการจัดอบรม
Latest News
คณะวิทยาศาสตร์ฯ เตรียมความพร้อมในการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
คณะวิทยาศาสตร์ฯ เตรียมความพร้อมในการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต
เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2565 ณ ห้องประชุม 416 คณะวิทยาศาสตร์ฯ จัดให้มีการระดมความคิดในการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ให้มีคุณภาพตามกรอบแนวคิดการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome-Base Education :OBE ) จำนวน 4 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิขาคณิตศาสตร์ สาขาวิชาเคมี สาขาวิชาชีววิทยา และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิและคณะกรรมการ ที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนได้ส่วนเสียในการใช้งานบัณฑิต โดยมีตัวแทนจากผู้บริหารโรงเรียน คุณครูพี่เลี้ยง อาจารย์ผู้สอน ในจังหวัดเพชรบุรี อาจารย์นิเทศ นักศึกษาสังเกตุการสอน นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ เข้าร่วมในการให้แนวคิด คำแนะนำ ที่เป็นข้อดี และข้อด้อย เพื่อนำมาปรับปรุง พัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคมในปัจจุบัน

โรงเรียนหัวหินเข้าค่ายวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
วัน จันทร์ ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2565 โรงเรียนหัวหิน นักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4/1 จำนวน 30 คน เข้าร่วม กิจกรรมค่ายเทคนิคปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ (คณิตศาสตร์) โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม (SMTE) ประจำปีการศึกษา 2565 โดยศึกษาความรู้เกี่ยวกับโครงการคณิตศาสตร์ โครงงานสิ่งประดิษฐ์จากcodingรายวิชาวิทยาการคำนวณ และเข้าชมแหล่งเรียนรู้อัจฉริยะที่แปลงผักยกโต๊ะ เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ต่อไปในอนาคต
การประเมินคุณภาพการศึกษาภายในประจำปีการศึกษา 2564 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
วัตถุประสงค์การประเมิน
1. เพื่อสะท้อนผลการดำเนินงานตลอดปีการศึกษาของหน่วยงาน
2. เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการบริหารและการจัดการศึกษาของหน่วยงาน
3. เพื่อยกระดับมาตรฐานการศึกษาของมหาวิทยาลัยให้เป็นที่ยอมรับ
คณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษา
- รศ.ดร.โองการ วณิชาชีวะ ประธานกรรมการ (Online)
- ผศ.ดร.กังสดาล สกุลพงษ์มาลี กรรมการ
- อ.ดร.จีรศักดิ์ สุขสันติกมล กรรมการ (Online)
- อ.ดร.จตุพร อินทะนิน เลขานุการ
- น.ส.ชนม์นิภา ตันหยง ผู้ช่วยเลขานุการ
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน
รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจาปีการศึกษา 2564
วันที่ 11 สิงหาคม 2565
———————————————————————————————
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลั ยราชภัฏเพช รบุรี เป็นส ถาบันอุดมศึกษา กลุ่ม ข. (เน้นการผลิตและพัฒนาสังคม) ได้ดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามคู่มือประกันคุณภาพการศึกษาภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี พ.ศ. 2561 -2565 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 โดยจัดทำเป็นแผนประกันคุณภาพการศึกษาภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีและปฏิบัติตามแผนการติดตามตรวจและประเมินผลมาอย่างต่อเนื่องทุกปี
ในปีการศึกษา 2564 มหาวิทยาลัยได้แต่งตั้งคณะกรรมการประเมินคุณภาพประกอบด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.โองการ วณิชาชีวะ เป็นประธานคณะกรรมการ ผศ.ดร.กังสดาล สกุลพงษ์มาลี เป็นรองประธานกรรมการ อาจารย์ ดร.ธีรศักดิ์ สุขสันติกมล เป็นกรรมการ อาจารย์ ดร.จุติพร อินทะนิน เป็นกรรมการและเลขานุการ นางสาว ชนม์นิภา ตันหยง เป็นผู้ช่วยเลขานุการ ประเมินคุณภาพมหาวิทยาลัย ณ วันที่ 11 สิงหาคม 2565 คณะกรรมการประเมินฯ ได้ประเมินคุณภาพคณะแบบมีส่วนร่วม โดยตรวจประเมินคุณภาพตามกำาหนดการจากการตรวจผลการดำเนินงานและเอกสารหลักฐานผ่านระบบออนไลน์ การสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย ตรวจเยี่ยมศูนย์การเรียนรู้ จากความร่วมมือกับประชารัฐ สรุปผลและเปิดโอกาสให้เสนอหลักฐาน เพิ่มเติม พร้อมรายงานคะแนนต่อผู้บริหารคณะด้วยวาจา ผลกำรประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีะบบและกลไกการประกันคุณภาพ ตาม มาตรฐานคุณภาพตามเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีที่พัฒนาขึ้น มีผลการประเมินคุณภาพตนเองของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจ าปีการศึกษา 2564 มีคะแนนเฉลี่ย 4.69 อยู่ในระดับดีมาก คณะกรรมการมีผลการประเมินคุณภาพภายในประจ าปีการศึกษา 25 64 มีคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมตามมาตรฐานของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เท่ากับ 4.69 อยู่ในระดับดีมาก สรุปดังนี้
1. คะแนนเฉลี่ย 5 มาตรฐานคุณภาพ พบว่า
มาตรฐานที่ 1 ผลลัพธ์ผู้เรียนมีคะแนนเฉลี่ย 4.69 อยู่ในระดับดีมาก
มาตรฐานที่ 2 การวิจัย หรืองานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรม มีคะแนนเฉลี่ย 4.57 อยู่ในระดับดีมาก
มาตรฐานที่ 3 การบริการวิชาการมีคะแนนเฉลี่ย 5.00 อยู่ในระดับดีมาก
มาตรฐานที่ 4 ศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยมีคะแนนเฉลี่ย 4.50 อยู่ในระดับด
มาตรฐานที่ 5 การบริหารจัดการมีคะแนนเฉลี่ย 4.69 อยู่ในระดับดีมาก
2.ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนำและบริหารจัดการต่อไป
องค์ประกอบที่ 1 จุดแข็ง
คณะมีระบบกำกับติดตามและการประเมินผลการพัฒนานักศึกษาและบัณฑิตที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้การดำเนินการด้านการผลิตบัณฑิตมีความโดดเด่น
ข้อเสนอแนะ
คณะควรวิเคราะห์ สังเคราะห์ การเพิ่มทักษะการเป็นผู้ประกอบการให้กับนักศึกษา และบัณฑิตเพื่อเพิ่มความเข้มแข็งในการพัฒนาด้านวิชาชีพต่อไป
องค์ประกอบที่ 2 จุดแข็ง
คณะมีระบบกลไกในการส่งเสริม กำกับและติดตามการวิจัยที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ทุนสนับสนุนการวิจัยรวมถึงผลงานทางวิชาการ นวัตกรรมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ข้อเสนอแนะ
คณะควรเร่งกระบวนการในการส่งเสริมและคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อให้เกิดแรงจูงใจในการสร้างผลงานและนวัตกรรมที่
สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
องค์ประกอบที่ 3 จุดแข็ง
คณะมีการกำหนดเป้าหมายชุมชนในการให้บริการวิชาการอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดผลิตภัณฑ์และองค์ความรู้รวมถึงรายได้จากการบริการวิชาการอย่างเป็นรูปธรรม
ข้อเสนอแนะ
คณะควรแสดงผลการดำเนินงาน โดยเฉพาะการบูรณาการการบริการวิชาการเข้ากับการเรียนการ สอนให้ครบถ้วน เพื่อเพิ่มผลลัพธ์การเรียนรู้และศักยภาพของผู้เรียน
องค์ประกอบที่ 4 จุดแข็ง
คณะมีจำนวนแหล่งการเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมที่หลากหลายส่งผลให้เกิดการพัฒนาด้านศิลปวัฒนธรรมที่โดดเด่น
ข้อเสนอแนะ
คณะควรมีการวิเคราะห์ เพื่อสร้างองค์ความรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่ ในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันหรือการพัฒนาต่อยอดในเชิงพาณิชย์ และสามารถน าไปสู่การได้รับรางวัลเชิดชูได้
องค์ประกอบที่ 5 จุดแข็ง
คณะมีรูปแบบการบริหารจัดการรวมถึงระบบการกำกับการประกันคุณภาพที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ การดำเนินงานในมิติต่าง ๆ บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ได้อย่างดี
ข้อเสนอแนะ
คณะควรเร่งกำกับติดตามแผนการพัฒนาบุคลากรตามที่วางไว้ เช่น การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ ของอาจารย์ประจำคณะ
ภาพกิจกรรม
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ได้จัดงานวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2565 เมื่อวันที่ 18-19 สิงหาคม 2565 ณ ห้องประชุม พนอมแก้วกำเนิด อาคาร สุเมธตันติเวชกุล โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสนาะ กลิ่นงาม อธิการบดีเป็นประธานในการทำพิธรราชสดุดดี สัการะ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเปิดงาน โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ณรงค์ ไกรเนตร์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ฯ เป็นผู้กล่าวรายงาน ในวันที่ 18 สิงหาคม 2565 ได้จัดให้มีการวางพานพุ่มสักการะ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และมีการมอบรางวัลต่างๆ ให้กับบุคลการกรทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน รวมถึงนักศึกษา โดยภายในงานจัดให้มีการแสดงผลงานของนักศึกษา ด้านนวัตกรรม การจัดแสดงนิทรรศการรัชกาลที่ 4 และรัชการที่ 10 นิทรรศการทางวิทยาศาสตร์ ด้านอาหาร มีการจัดการแข่งขันตอบปัญหาวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ การประกวดนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ ในวันที่ 19 สิงหาคม 2565 มีการแข่งขันจรวดขวดน้ำประเภทแม่นยำ การแข่งขันการแสดงทางวิทยาศาสตร์ (Science Show) การแข่งขันทำอาหาร กิจกรรมครั้งนี้ได้รับความสนใจจากคุณครู นักเรียน นักศึกษา ในจังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดใกล้เคยเป็นจำนวนมาก
สาขาวิชาชีววิทยาจัดกิจกรรม “ฝึกเทคนิคปฎิบัติการโครงงาน ร่วมกับสาขาวิชาเคมี
เมื่อวันที่
6 สิงหาคม 2565 สาขาเทคโนโลยีและศิลปะการประกอบอาหาร จัดกิจกรรมอบรมเบเกอรี่ หลักสูตร “#การพัฒนาทักษะเบเกอรี่และการตกแต่งเพื่อการประกอบธุรกิจ“ ให้กับบุคลากร นักศึกษาและบุคคลภายนอกที่สนใจ โดยมี ผศ.ณรงค์ ไกรเนตร์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นประธานเปิดการอบรมมี ผศ.อารี น้อยสำราญ อ.ศจีมาศ นันตสุคนธ์ อ.ณปภา หอมหวล อ.นราธร สัตย์ซื่อ อ.ดร.อัจฉริยกูล พวงเพ็ชร์ อ.ดร.จินตนา สังโสภา เป็นวิทยากรให้ความรู้ และเทคนิคการทำเบเกอรี่ โดยมีผู้สนใจเข้าร่วม ประมาณ 25 คน ณ ห้องสาธิต (401) โรงเรียนการอาหารนานาชาติเพชรบุรี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี