ขอแสดงความยินดีกับ นายวรายุส บุตรเคียง และนางสาวณัฐกานต์ พรหมมา นักศึกษาสาขาวิชาอาหารและโภชนาการประยุกต์เป็นผู้ได้รับรางวัลการนำเสนอวิจัยแบบบรรยายดีเด่น ในการประชุมการประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ครั้งที่ 2 (The 2nd SEAT 2022) ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เมื่อวันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม 2565 ในรูปแบบออนไลน์ เรื่อง “การพัฒนาผลิตภัณฑ์โดนัทน้ำตาลโตนดผสมลูกตาล”
Latest News
ฝ่ายกิจการและสโมสรนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดกิจกรรมถวายเทียนพรรษา ณ วัดใหญ่สุวรรณาราม
written by Prachum Phunood
ในวันที่ 11 กรกฎาคม 2565 เวลา 15.00 น.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ณรงค์ ไกรเนตร์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ฯ อาจารย์ ดร.ญาณพัฒน์ พรมประสิทธิ์ รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และสโมสรนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 170 คน ได้จัดกิจกรรมถวายเทียนพรรษาประจำปี พ.ศ. 2565 เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาเห็นความสำคัญของประเพณีทางพุทธศาสนา และเพื่อสืบสานการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมที่ดีของไทยให้อยู่คู่คนไทยตลอดไป โดยนำต้นเทียนพรรษาไปถวายแด่พระสงฆ์ ณ วัดใหญ่สุวรรณาราม อ.เมือง จ.เพชรบุรี เพื่อพระสงฆ์จักได้ใช้ในพุทธศาสนกิจช่วงเข้าพรรษาต่อไป
อบรมเชิงปฏิบัติการการจัดค่ายสะเต็มศึกษา โดยเป็นการถ่ายทอดความรู้จากครูสู่นักเรียน โรงเรียนบ้านลาดวิทยา
written by Prachum Phunood
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ดำเนินจัดกิจกรรม “อบรมเชิงปฏิบัติการการจัดค่ายสะเต็มศึกษา โดยเป็นการถ่ายทอดความรู้จากครูสู่นักเรียน” นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านลาดวิทยา ในวันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม 2565 ทั้งนี้กิจกรรมเป็น 2 ฐานกิจกรรมประกอบด้วย
กิจกรรมสนุกคิดสนุกวิทย์ไปกับนักโภชนาการน้อย ดำเนินกิจกรรม ณ โรงเรียนการอาหารนานาชาติ
วิทยากรโดย อาจารย์วริษา ปานเจริญ อาจารย์ ดร.นิรุธ ล้ำเลิศ อาจารย์ ดร.ญาณพัฒน์ พรมประสิทธิ์ อาจารย์ ดร.เวธกา เช้าเจริญ อาจารย์ ดร.อัจริยะกูล พวงเพ็ชร์
กิจกรรมสะเต็ม แป้งโดว์นำไฟฟ้า ดำเนินกิจกรรม ณ สาขาวิชาเคมี
วิทยากรโดย อาจารย์ ดร.กฤษณะ พวงระย้า ผศ.วัชราภรณ์ ประภาสะโนบล ผศ.ศรินรัตน์ ฉัตรธีระนันท์ ผศ.สุธิดา ทองคำ อาจารย์วรรณา วัฒนา
นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมนันทการสนุกสนานก่อนแยกย้ายไปยังฐานกิจกรรมความรู้ทั้งสองฐาน ซึ่งดำเนินกิจกรรมโดย นายสรุสิทธิ์ ห่วงแก้วพราย นายกสโมสรคณะวิทยาสตร์และเทคโนโลยี โดยได้รับการควบคุมดูแลจากอาจารย์กัญญารัตน์ คำวิชัย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
สนุกคิดสนุกวิทย์ ไปกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
ฝ่ายวิชาการคณะวิทยาศาสตร์ฯ จัดกิจกรรมอบรมการเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning)
written by Prachum Phunood
รูปแบบการสอนแบบใหม่ ภายใต้กระแสแห่งพัฒนาการด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เป็นรูปแบบของการบูรณาการ
ปรับใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กับการเรียนการสอนแบบปกติ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ทีก้าวไกลเกิดทั้งประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพทางการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น ซึ่งรูปแบบดังกล่าวนี้เรียกว่า “การเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning)” เป็นนวัตกรรมการศึกษาที่ผสมผสานโมดูล (Module) การเรียนการสอนหลายรูปแบบเข้าด้วยกัน เป็นลักษณะของการผสมผสานการเรียนทางไกล (Distance Learning) ผ่านระบบเครือข่าย Online ร่วมกับการเรียนแบบเผชิญหน้า (Face to Face) ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าการนั่งฟังการบรรยายในชั้นเรียนปกติ ทั้งนี้จะให้ความสำคัญกับการเลือกใช้สื่อที่เหมาะสมและถูกต้องตามจุดประสงค์การเรียนรู้ในลักษณะต่างๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพการเรียนการสอน จากความสำคัญจำเป็นดังกล่าว มหาวิทยาลัยได้จัดกิจกรรมอบรมไปแล้วเมื่อวันที่ 9 มีนาคม และ 20 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมานั้น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเล็งเห็นความสำคัญและเพื่อนำองค์ความรู้ดังกล่าวมาสู่การปฏิบัติ จึงจัดโครงส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนแบบ Blended Learning เพื่อนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนภาคเรียนที่ 1/2565 ในการนี้ได้แบ่งการดำเนินกกิจกรรมเป็น 2 กิจกรรมย่อยโดยมีรายละเอียดดังนี้
ประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดทำเค้าโครงรายวิชาและการวัดและประเมินผลรายวิชาเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบ Blended Learning เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2565 เวลา 13.30-16.30 วิทยากรโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุดารัตน์ ไชยเฉลิม และผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุธิดา ทองคำ
การพัฒนาเทคนิคการทำสื่อในรายวิชาที่มีการจัดการเรียนรู้แบบ Blended Learning ซึ่งเป็นการพัฒนาสื่อสำหรับการจัดการเรียนการสอนด้วยระบบ LMS เมื่อวันที่ 6-7 กรกฎาคม 2565 เวลา 8.30-16.30 วิทยากรโดย อาจารย์ ดร.อัตภาพ มณีเติม และคุณอาพร สุนทรวัฒน์
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดกิจกรรมปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ ปีการศึกษา 2565
written by Prachum Phunood
เมื่อวันที่ 7 และ 8 กรกฎาคม พ.ศ.2565 อาจารย์ ดร.ญาณพัฒน์ พรมประสิทธิ์ รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา นายนพดล เมืองนก นักวิชาการศึกษา และสโมสรนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดกิจกรรมปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ ปีการศึกษา 2565 ดังนี้ ในวันที่ 7 กรกฎาคม 2565 เวลา 09.00 – 12.00 น. จัดกิจกรรม walk with s.c.i. โดยรุ่นพี่พาน้อง รู้จักมหาวิทยาลัย มีการเเนะนำสถานที่และอาคารต่าง ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมในวันเปิดภาคเรียนและได้รู้จักชื่ออาคารต่างๆ โดยให้นักศึกษาถ่ายภาพร่วมกับอาคารต่างๆพร้อมกับโพสลงสื่อออนไลน์ และมีการแจกรางวัลในการประกวดภาพถ่ายอีกด้วย และในวันที่ 8 กรกฎาคม 2565 เวลา 09.00 – 12.00 น. จัดกิจกรรมปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ โดยจัดพิธีบายศรีสู่ขวัญ ซึ่งได้รับเกียรติจาก ครูจิตรภณ โลภปัญญา ครูโรงเรียนอนุบาลทับสะเเก จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็นพิธีกรทำพิธีบายศรีสู่ขวัญ และให้อาจารย์กับเจ้าหน้าที่ร่วมกันผูกข้อมือให้กับนักศึกษาเพื่อเป็นการต้อนรับเข้าสู่คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หลังจากนั้นได้จัดกิจกรรมละลายพฤติกรรม เเละการทบทวนระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับนักศึกษาต่อไป
ขอแสดงความยินดีกับทีมนักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คว้ารางวัล “SILVER MEDAL AWARD” บนเวทีระดับนานาชาติ “2022 Japan Design, Idea and Invention Expo” (JDIE 2022) ณ ประเทศญี่ปุ่น
written by Prachum Phunood
ขอแสดงความยินดีกับทีมนักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร.สุคนธา สุคนธ์ธารา หัวหน้าโครงการวิจัย และคณะทีมนักวิจัยประกอบด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร.พูนศิริ ทิพย์เนตร ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร.รุ่งทิวา ชิดทอง ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร.รุ่งทิพย์ จูฑะมงคล และ อาจารย์ธนิดา ชาญชัย โดยได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. โครงการวิจัยนี้ได้รับการคัดเลือก และสนับสนุนงบประมาณการส่งผลงานเข้าร่วมประกวดและจัดแสดงผลงานในงาน JDIE 2022 จากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) โดยผ่านการประสานงานจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นหน่วยงานจัดส่งเข้าประกวดครั้งนี้ ซึ่งงานวิจัยของทีมนักวิจัยจาก คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี และทีมงานสามารถคว้ารางวัลเหรียญเงิน “SILVER MEDAL AWARD” บนเวทีระดับนานาชาติ “2022 Japan Design, Idea and Invention Expo” (JDIE 2022) ณ เมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น เวทีอันทรงเกียรติในการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมนานาชาติ
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี โดยหัวหน้าโครงการวิจัย ผศ.ดร.สุคนธา สุคนธ์ธารา อาจารย์ประจำสาขาวิชาอาหารและโภชนาการประยุกต์ ได้พัฒนานวัตกรรมขนมหม้อแกงเมืองเพชรบุรีร่วมกับผู้ประกอบการกลุ่มขนมหวานพื้นเมืองแม่สมานจนเกิดเป็นขนมหม้อแกงที่อร่อยและมีคุณค่าทางโภชนาการเหมาะสำหรับผู้สูงอายุนอนติดเตียง และผู้สูงอายุที่มีภาวะกลืนลำบาก ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าให้แก่ขนมท้องถิ่นเมืองเพชรและเกิดทางเลือกที่เหมาะสมแก่ผู้สูงอายุ
จนได้รับรางวัล “SILVER MEDAL AWARD” จากการเข้าร่วมประกวดผลงานวิจัยและนวัตกรรมในเวทีนานาชาติ
“2022 Japan Design, Idea and Invention Expo” ระหว่างวันที่ 1-3 กรกฎาคม 2022 ซึ่งจัดขึ้น ณ เมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น
ในผลงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาขนมหม้อแกงเมืองเพชรสุขภาพเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ” (Development of Healthy Phetchaburi Styled Egg Custard to Support the elderly)
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจัดกิจกรรมปรับความรู้พื้นฐานเตรียมความพร้อมในการเรียนระดับอุดมศึกษาก่อนเปิดเทอมเพื่อการพัฒนาทักษะความรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 1
written by Prachum Phunood
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจัดกิจกรรมปรับความรู้พื้นฐานเตรียมความพร้อมในการเรียนระดับอุดมศึกษาก่อนเปิดเทอมเพื่อการพัฒนาทักษะความรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ทุกสาขาวิชา เตรียมรับเปิดภาคการศึกษาใหม่ 2565 เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจัดกิจกรรมปรับความรู้พื้นฐานเตรียมความพร้อมในการเรียนเพื่อเตรียมความพร้อมให้นักศึกษามีทักษะสำหรับการดำรงชีวิตในโลกศตวรรษที่ 21 โดยทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่สำคัญที่สุด คือ ทักษะการเรียนรู้ ตลอดจนการเตรียมความให้นักศึกษามีความพร้อมด้านต่าง ๆ ของคนในศตวรรษที่ 21 ที่ทุกคนจะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม คิดสร้างสรรค์ ใส่ใจนวัตกรรม มีวิจารณญาณ แก้ปัญหาเป็น สื่อสารดี เต็มใจร่วมมือ ทักษะสารสนเทศ สื่อ เทคโนโลยี อัพเดททุกข้อมูลข่าวสาว รอบรู้เทคโนโลยี ฉลาดสื่อสาร ทักษะชีวิตและอาชีพ มีความยือดหยุ่น รู้จักปรับตัว ริเริ่มสิ่งใหม่ ใส่ใจดูแลตัวเอง รู้จักเข้าสังคม ด้วยเหตุนี้ คณะวิทยาศาตร์และเทคโนโลยีเล็งเห็นถึงความสำคัญจำเป็น จึงดำเนินกิจกรรมปรับความรู้พื้นฐานเตรียมความพร้อมในการเรียนระดับอุดมศึกษาก่อนเปิดเทอมเพื่อการพัฒนาทักษะความรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 เพื่อให้ดำเนินการเรียนและการใช้ชีวิตในรั่วมหาวิทยาลัยให้ประสบผลสำเร็จ โดยมีรายละเอียดกิจกรรมดังนี้
- สาขาวิชาคณิตศาสตร์ ปรับพื้นฐานเรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ วิทยากรโดย อาจารย์อรพรรณ เลื่อนแป้น
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปรับพื้นฐานเรื่อง เรื่อง ความรู้พื้นฐานคณิตศาสตร์และการใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ วิทยากรโดย อาจารย์ ดร.นิรุธ ล้ำเลิศ อาจารย์วริษา ปานเจริญ
- สาขาวิชาเคมี ปรับพื้นฐานเรื่อง การใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์เบื้องต้นและการคำนวณทางเคมีเบื้องต้น วิทยากรโดย ผศ. ศรินรัตน์ ฉัตรธีระนันท์ อาจารย์ ดร.กฤษณะ พวงระย้า และ อาจารย์ ดร.เวธกา เช้าเจริญ
- สาขาชีววิทยา ปรับพื้นฐานเรื่อง การใช้กล้องจุลทรรศน์ และการเตรียมสไลด์สด, การสืบค้นและการนำสนอข้อมูล, การใช้ศัพท์เทคนิคภาษาอังกฤษทางชีววิทยา วิทยากรโดย คณาจารย์สาขาชีววิทยา
- สาขาอาหารและโภชนาการประยุกต์ ปรับพื้นฐานเรื่อง วิทยาศาสตร์เพื่องานอาหารและโภชนาการฐานในครัว และ ภาษาอังกฤษเพื่องานอาหารและโภชนาการ วิทยากรโดย อาจารย์ ดร. จินตนา สังโสภาอาจารย์ ดร. พรอริยา ฉิรินัง
- สาขาเทคโนโลยีและศิลปะการประกอบอาหาร ปรับพื้นฐานเรื่อง การจัดการครัวและความปลอดภัยพื้น และความรู้เกี่ยวกับวัตถุดิบในการปรุงอาหาร วิทยากรโดย อาจารย์นราธร สัตย์ซื่อ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์อารี น้อยสำราญ
สาขาวิชาเคมี
สาขาวิชาชีววิทยา
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สาขาวิชาคณิตศาสตร์
สาขาวิชาเทคโนโลยีศิลปะการประกอบอาหาร
สาขาวิชาอาหารและโภชนาการประยุกต์
เมื่อวันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม 2565 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ณรงค์ ไกรเนตร์ คณบดีและคณะผู้บริหาร พร้อมด้วยบุคลากรของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดให้มีพิธีทำบุญเลี้ยงพระเพล และหล่อเทียนในเทศกาลเข้าพรรษา บริเวณลานกิจกรรมด้านหน้าอาคาร 4 สำนักงานคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ฯ โดยนิมนต์พระสงฆ์จำนวน 9 รูป ร่วมทำพิธีเจริญพระพุทธมนต์ โดยมี บุคลาการคณะวิทยาศาสตร์ฯ เข้าร่วมจำนวน 60 ท่าน หลังจากพิธีสงฆ์เสร็จสิ้น บุคลากรของคณะได้ร่วมทำบุญและ หล่อเทียนพรรษา ซึ่งในปีนี้ทางคณะวิทยาศาสตร์ฯ จักได้นำเทียนเข้าพรรษาไปถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ ณ วัดใหญ่สุวรรณาราม อ.เมือง จ.เพชรบุรี ในวันที่ 11 กรกำาคม 2656 เวลา 13.00 น. ต่อไป
คณะวิทยาศาสตร์ฯ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ การป้องกันอัคคีภัยในสถานศึกษาสำหรับบุคลากร
written by Prachum Phunood
เมื่อวันอังคารที่ 30 มิถุนายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้จัดกิจกรรม อบรมเชิงปฏิบัติการ การป้องกันอัคคีภัยในสถานศึกษาสำหรับบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ณ ห้องประชุม ชั้น 5 โรงเรียนการอาหารนานาชาติเพชรบุรี โดยมีท่าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ณรงค์ ไกรเนตร์ คณบดี๕ระวิทยาศาสตร์เป็นประธานกล่าวเปิดงาน โดยมีบุคลากรทั้งอาจารย์และเจ้าหน้าที่ จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สำนักงานอธิการบดี สถาบันวิจัยและศิลปวัฒนธรรม สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ รวมจำนวน 50 คน โดยมี คุณกิตติ คาใจธรรม และนายมานัส สุกสี เป็นวิทยากรวิทยากรให้ความรู้ โดยการจัดอบรมทั้งทฤษฎีและภาคปฏิบัติให้กับบุคลากรทุกได้แก้ไขปัญหากับสถานะการที่จำลองขึ้น เพื่อสามารถนำไปใช้ป้องกันเหตุที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีสติ
โรงเรียนการอาหารนานาชาติเพชรบุรี คณะวิทยาศาสตร์ฯ ได้รับเกียรติจัดเลี้ยงอาหารให้กับนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี และผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี
written by Prachum Phunood
เมื่อวันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน 2565 โรงเรียนการอาหารนานาชาติเพชรบุรี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเชฟทศพร ลิ้มดำเนิน ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหาร ได้รับความไว้ว่างใจให้จัดอาหารมื้อกลางวันให้กับ พลอากาศเอกชลิต พุกผาสุข นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี พร้อมผู้ทรงคุณวุฒิ และกรรมการสภา นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสนาะ กลิ่นงาม และได้รับเกียรติ ท่านณัฐวุฒิ เพ็ชรพรหมศร ผู้ว่าราชาการจังหวัดเพชรบุรี ร่วมรับประทานอาหารกลางวัน พร้อมร่วมสนทนา ปรึกษาหารือ แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นซึ่งกันและกัน โดยบรรยาการเป็นไปอย่างชื่นมื่น ครั้งนี้เชฟทศพร ได้นำเอาวัตถุดิบที่มีในจังหวัดเพชรบุรี มาประยุกต์และรังสรรค์เป็นอาหารคาว-หวาน เพื่อเป็นการสร้างมูลค่าให้กับผลผลิตในจังหวัดเพชรบุรี ได้อย่างอร่อยลงตัว