Latest News
ฝ่ายกิจการนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ ลงพื้นที่บ้านหนองมะกอก ตำบลวังจันทน์ อำเภอแก่งกระจาน เพื่อติดตามความก้าวหน้าผลการทำปุ๋ยพืชสด
รายละเอียดกิจกรรม
เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2568 ฝ่ายกิจการนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ฯ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประดิพันธ์ ทองแถม ณ อยุธยา รองคณบดี ฝ่ายกิจการนักศึกษา และ นายนพดล เมืองนก เจ้าหน้าที่ดูแลกิจการนักศึกษา พร้อมกับคณะกรรมการสโมสรนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ฯ ลงพื้นที่บ้านหนองมะกอก ตำบลวังจันทน์ อำเภอแก่งกระจาน กิจกรรมในครั้งนี้ เพื่อติดตามผลการทำปุ๋ยพืชสดในระยะเวลา 1 เดือน และตรวจสอบความสมบูรณ์ของปุ๋ย โดยการนำปุ๋ยกลับมาวิเคราะห์หาแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อพืช เพื่อสร้างมูลค่าและจัดทำเป็นผลิตภัณฑ์ของชุมชน และดำเนินการเชิงพาณิชย์ เพื่อจำหน่ายสร้างรายได้ของคนในชุมชนต่อไป
คณะวิทยาศาสตร์บริการวิชาการ ด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์และสนับสนุนด้านอาหาร กับชุมชนตำบลสองพี่น้อง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี
รายละเอียดกิจกรรม
เมื่อวันที่ 23 -24 เมษายน 2568 ฝ่ายบริการวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นำโดย อาจารย์ศจีมาศ นันตสุคนธ์ ผู้ช่วยคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมด้วยทีมงานบริการวิชาการ ลงพื้นที่จัดกิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์และสนับสนุนด้านอาหาร จำนวน 4 เมนู ได้แก่ น้ำพริกกะทิ แกงส้มผักกรูดปลานิล ไก่ทอดผักกรูด และขนมกล้วยขยำ ผลิตภัณฑ์ที่ได้เพื่อนำมาจำหน่ายและบริการให้กับนักท่องเที่ยว สร้างรายได้ให้กับชุมชน และเป็นผลิตภัณฑ์ที่หาง่ายและนำมาประกอบอาหารได้ทุกฤดูกาล รวมทั้งพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวตามรอยเสด็จของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ท่านเคยทรงเสด็จมาประทับตำบลสองพี่น้อง เพื่อเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ให้กับ นักเรียน นักศึกษา นักท่องเที่ยว และผู้ที่สนใจ และถ่ายทำคอนเท็นต์ ประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวชุมชนตำบลสองพี่น้อง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี เพื่อให้นักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจมาเที่ยวเล่นน้ำ พักผ่อน เป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน
ฝ่ายวิชาการคณะวิทยาศาสตร์ฯ จัดประชุมคณะกรรมการปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต “สาขาวิชาศิลปะการประกอบอาหารและโภชนาการ”
รายละเอียดกิจกรรม
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุธิดา กรรณสูตร รองคณบดีฝ่ายวิชาการและบริการ คณะวิทยาศาสตร์ฯ ได้จัดประชุมคณะกรรมการปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต “สาขาวิชาศิลปะการประกอบอาหารและโภชนาการ” เมื่อวันที่ 22 เมษายน 68 ณ ห้องประชุม 416 คณะวิทยาศาสตร์ฯ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ณรงค์ ไกรเนตร์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระธานในการประชุม มีท่านผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วมประชุม จำนวน 4 ท่าน ดังนี้
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สถาพร ถาวรอธิวาสน์ ผู้ทรงคุณวุฒิจากสถานศึกษา
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนวิทย์ ลายิ้ม ผู้ทรงคุณวุฒิจากสถานศึกษา (Online)
- คุณเสาวกิจ ปรีเปรม ผู้ทรงคุณวุฒิจากสถานประกอบการ
- คุณบุญยืน พูลลาภ ผู้ทรงคุณวุฒิจากสถานประกอบการ
และมีอาจารย์ที่มอบหมายเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวน 2 ท่าน ดังนี้
- อาจารย์ ดร.จินตนา สังโสภา อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
- อาจารย์นราธร สัตย์ซื่อ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ทั้งนี้มีอาจารย์และเจ้าหน้าที่ จากสาขาวิชาเทคโนโลยีและศิลปะการประกอบอาหาร และสาขาวิชาอาหารและโภชนาการประยุกต์ ได้มีส่วนในการเข้าร่วมประชุม โดย โครงการปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต “สาขาวิชาศิลปะการประกอบอาหารและโภชนาการ” เป็นโครงการที่อยู่ภายใต้ โครงการพัฒนาระบบและรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผลรับการเรียนรู้และสมรรถนะของผู้เรียน (Outcome base education: OBE) ร่วมกับสถานประกอบการผ่านการปฏิบัติงานจริง (Cooperative and Work Integrated Education: CWIE) และระบบเตรียมความพร้อมของนักศึกษาตลอดหลักสูตตามที่กำหนดและการติดตามข้อมูลภาวะ โดยหลักการและเหตุผลดังนี้
ตามวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย “ภายในปี 2570 เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำด้านอาหาร การท่องเที่ยว และวิทยาการสุขภาพภายใต้ความเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล ด้วยการบูรณาการศาสตร์เพื่อพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน” และตอบสนองพัฒนกิจ ผลิตบัณฑิตตามอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพตามสมรรถนะในศตวรรษที่ 21 มีทัศนคติที่ดี มีคุณธรรมนำความรู้ เป็นพลเมืองดีในสังคม เน้นองค์ความรู้สู่ท้องถิ่นและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในปี 2568 มีหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอาหารและโภชนาการประยุกต์ที่ครบรอบปรับปรุงหลักสูตรตามรอบ ซึ่งควรมีการดำเนินการภายในปีงบประมาณ 2567 นี้ และเนื่องด้วยสถาบันการศึกษาจำเป็นต้องมีระบบที่มีคุณภาพในการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome Based Education) ของผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดการศึกษาเพื่อให้ได้บัณฑิตที่มีคุณลักษณะของรูปแบบในอนาคตต้องมีการออกแบบและวางแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมและเอื้ออำนวยต่อการสร้างคุณสมบัติดังกล่าวได้ ด้วยเหตุนี้คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเห็นถึงความสำคัญจึงจัดโครงการการเตรียมความพร้อมพัฒนาหลักสูตรที่มุ่งเน้นสมรรถนะผู้เรียน OBE (หลักสูตรที่ปรับปรุงตามรอบ สาขาวิชาอาหารและโภชนาการประยุกต์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) เพื่อให้คณาจารย์ ผู้บริหาร และอาจารย์ประจำหลักสูตรเข้าใจแนวคิด หลักการ การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ของผู้เรียน และสามารถขยายผลไปสู่การออกแบบหลักสูตรให้มีคุณภาพ
ฝ่ายบริการวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ฯ รายงานผลการดำเนินงานโครงการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น (โครงการ 1 คณะ 1 อำเภอ) ในปี 2567
รายละเอียดกิจกรรม
เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2568 ฝ่ายบริการวิชาการนำโดย อาจารย์ศจีมาศ นันตสุคนธ์ ผู้ช่วยคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และนายณัฏฐนันท์ ศูนย์จันดา หัวหน้างานฝ่ายบริหารงานทั่วไป เข้าพบนายอำเภอแก่งกระจาน ณ ที่ว่าการอำเอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี เพื่อรายงานผลการดำเนินงานโครงการตามยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น (โครงการ 1 คณะ 1 อำเภอ) ในปี 2567 และความคืบหน้าการดำเนินงานโครงการในปี 2568 รวมทั้งยังเข้าส่งเอกสารเพื่อยื่นขอจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนด้านบริการ (การท่องเที่ยวชุมชน) เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน


ฝ่ายวิชาการวิจัยและนวัตกรรม คณะวิทยาศาสตร์ฯ ประชุมคณะกรรมการออกข้อสอบและคัดเลือกข้อสอบเพื่อการสอบประมวลความรู้รายชั้นปี Year Learning Outcomes (YLOs) ปีการศึกษา 2567
รายละเอียดกิจกรรม
เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2568 นำโดย ผศ. ดร.สุธิดา กรรณสูตร รองคณบดีฝ่ายวิชาการ วิจัยและนวัตกรรม จัดประชุมคณะกรรมการออกข้อสอบและคัดเลือกข้อสอบ เพื่อการสอบประมวลความรู้รายชั้นปี Year Learning Outcomes (YLOs) ปีการศึกษา 2567 สำหรับหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ทั้ง 4 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ สาขาวิชาเคมี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสาขาวิชาชีววิทยา จำนวน 20 คน ณ ห้องประชุม 416 คณะวิทยาศาสตร์ฯ เพื่อวางแผนการดำเนินการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ฯ ร่วมกัน ทำความเข้าใจผลการเรียนรู้ร่วมรายปี (YLOs) และทำความเข้าใจแนวทางการออกข้อสอบ รายละเอียดการออกข้อสอบแต่ละหลักสูตร รวมถึงพิจารณากำหนดการสอบประมวลความรู้ตามแนวทางในการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้รายชั้นปี (YLOs) โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ณรงค์ ไกรเนตร์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้เกียรติเป็นประธานการประชุม และให้ข้อเสนอแนะกระบวนการวัดประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้แก่คณะกรรมการเพื่อให้การดำเนินการดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพบรรลุตามวัตถุประสงค์
นศ.สาขาเชฟ จัดกิจกรรมสอบประมวลผลการศึกษา ภายใต้คอนเซ็ป Refined Dining EXPERIENCE
รายละเอียดกิจกรรม
เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2568 สาขาวิชาเทคโนโลยีและศิลปะการประกอบอาหาร จัดกิจกรรมสอบประมวลผลการศึกษา ภายใต้คอนเซ็ป Refined Dining EXPERIENCE แบ่งปันเรื่องราวเส้นทางของอาหาร ผ่านความสุข จิบน้ำชายามบ่าย AFTERNOON TEA ณ ห้องจัดเลี้ยงโรงเรียนการอาหารนานาชาติเพชรบุรี โดยนักศึกษา ชั้นปีที่ 3 รุ่น 65 ซึ่งการจัดกิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งในการเรียนการสอนรายวิชา “อาหารหวานยุโรปและไอศกรีม และหลักการผลิตขนมปังและพาย” โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ณรงค์ ไกรเนตร์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวเปิดกิจกรรม และมีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมในการจัดกิจกรรมจำนวนมาก
ขอแสดงความยินดี กับบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ฯ ได้รับคัดเลือก ข้าราชการพลเรือนดีเด่น ประจำปี พ.ศ.2567
รายละเอียดกิจกรรม
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ขอแสดงความยินดีกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัชราภรณ์ ประภาสะโนบล อาจารย์ประจำสาขาวิชาเคมี ที่ได้รับคัดเลือกจากคณะอนุกรรมการคัดเลือกข้าราชการพลเรือนดีเด่นประจำปี พ.ศ. 2567 ซึ่งมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานอนุกรรมการพิจารณา ได้ดำเนินการคัดเลือกข้าราชการพลเรือนดีเด่นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยมีมติเห็นชอบให้เป็นไปตามเกณฑ์วิธีการที่กำหนด ทั้งสิ้นจำนวน 624 ราย ครั้งนี้ ผู้ช่วยศาสตราจาย์ ดร.วัชราภรณ์ ประภาสะโนบล ได้รับคัดเลือกเป็นข้าราชการพลเรือนดีเด่น ประจำปี พ.ศ.2567 ลำดับที่ 280 โดยจะมีพิธีมอบเกียรติบัตร และเข็มเชิดชูเกียรติแก่ข้าราชการพลเรือนดีเด่น ประจำปี พ.ศ.2567 ในวันที่ 1 เมษายน 2568 เวลา 11.00 น.-16.30 น. ณ หอประชุมกรมมประชาสัมพันธ์ กรุงเทพมหานคร และมีการถ่ายทอดสดทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ (NBT) และทาง Facebook Live เพจ : วันข้าราชการพลเรือน ตั้งแต่ เวลา 14.00 น.เป็นต้นไป
ฝ่ายกิจการนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ลงพื้นที่จัดกิจกรรม “วิศวกรสังคม”
รายละเอียดกิจกรรม
ฝ่ายกิจการนักศึกษานำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประดิพันธ์ ทองแถม ณ อยุธยา รองคณบดี นายนพดล เมืองนก นักวิชาการศึกษาฝ่ายกิจการนักศึกษา และสโมสรนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ลงพื้นที่จัดกิจกรรม วิศวกรสังคม การทำปุ๋ยพืชสดจากวัสดุธรรมชาติ ชุมชนหนองมะกอก ต.วังจันทร์ จ.เพชรบุรี เมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2568 ซึ่งได้รับเกียรติ์จาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ณรงค์ ไกรเนตร์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานในการเปิดกิจกรรม รวมถึงผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ คณะกรรมการผู้นำสโมสรนักศึกษา พร้อมด้วยชาวบ้านในชุมชน จำนวน 40 คน
กิจกรรมในครั้งนี้ นักศึกษาได้แนะนำวิธีการทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงให้กับชาวบ้าน เพื่อเร่งการเจริญเติบโต ทำให้พืชแข็งแรงโตเร็ว และแนะนำวิธีการทำปุ๋ยพืชสดจากวัสดุธรรมชาติ โดยใช้ต้นกล้วย และใบพืชสดต่างๆ ที่ชาวบ้านเหลือจากการทำเกษตรในชุมชนมาผสมกับน้ำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง โดยหมักทิ้งไว้ 1 เดือน ในพื้นที่กลางแจ้ง โดยทำการรดน้ำทุกๆ 7 วัน หลังจากนั้นจึงจะสามารถนำมาใช้งานกับพืชได้ต่อไป